16 ต.ค. 2553

สร้างกล้ามด้วยการดูจากอาการเจ็บระบม

ปวดกล้ามเนื้อ

              ความเจ็บปวดเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตนักเพาะกาย การจะตัดสินว่าการฝึกได้ผลอย่างไรด้วยการดูว่าการฝึกนั้นทำให้กล้ามเนื้อตึงปวดไปนานเท่าไหร่ ซึ่งต้องสามารถแยกแยะระหว่างความเจ็บปวดที่ไม่ดี หรืออาการบาดเจ็บ กับความรู้สึกตึงปวดแบบดี [pump] ต่างกันอย่างไร เช่น การบาดเจ็บทำให้ยกน้ำหนักได้น้อยมากหรือไม่ได้เลยในการฝึกครั้งต่อไป แต่ถ้าเป็นความตึงปวดแบบดีจะยังยกน้ำหนักได้เต็มที่เหมือนเดิม


              เมื่อผ่านการฝึกฝนเป็นเวลาหลายปี ร่างกายจะปรับสภาพและสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงพอที่จะฝึกหนักๆ จนทำให้รู้สึกตึง หรือ pump ได้โดยที่ไม่เกิดการบาดเจ็บ ดังนั้นการฝึกฝนที่หมั่นเพียรเท่านั้นที่จะไปถึงจุดนั้นได้ นักเพาะกายทุกคนจึงฝึกหนักกว่า เข้มข้นกว่า และบ่อยกว่าที่ผ่านมา และไม่ค่อยประสบกับอาการบาดเจ็บเลย แต่ได้ความรู้สึกแบบตึง หรือ pumpของกล้ามเนื้อทุกครั้งที่ฝึก


              สาเหตุหนึ่งของการเกิดอาการเจ็บ คือการฝึกที่ไม่สม่ำเสมอ ถ้าเว้นการฝึกนานเกินไปกล้ามเนื้อจะสูญเสียการปรับสภาพ ดังนั้นเมื่อจะเริ่มฝึกมันหนักๆ อีก มันก็เท่ากับมาเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ ดังนั้นการสะสมกรดแลกติกในกระบวนการและความเจ็บปวดที่ตามมาจะมากกว่ากล้ามเนื้อที่ผ่านการฝึกอย่างสม่ำเสมอ


              กล้ามเนื้อที่ฝึกหนักต้องการการพักผ่อนระยะความถี่ที่เหมาะสมสำหรับการฝึกกล้ามเนื้อส่วนหนึ่งๆ คือ 1 ครั้ง ต่อ 1 สัปดาห์ แต่ก็อีกนั่นแหละบางคนชอบบ่อยกว่านี้ นั่นก็หมายความว่าต้องทนกับอาการเจ็บล้า ทั้งขณะฝึก และเจ็บระบมหลังการฝึก แต่ก็คิดไว้เสมอว่า ยิ่งคุณรู้สึกมากเท่าไหร่ ผลที่ได้ก็จะส่งให้กล้ามเนื้อของคุณใหญ่โต จนคุณลืมอาการเจ็บระบมที่ผ่านมาเลยทีเดียว

1 ความคิดเห็น:

nanviolin กล่าวว่า...

ผมก็ฝึกจนตึง ในวันรุ่งขึ้นบ่อยๆ

แสดงความคิดเห็น